Showing posts with label bio100basic. Show all posts
Showing posts with label bio100basic. Show all posts

Thursday 30 September 2021

ประเภทของจุลินทรีย์ MYCO-101





จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว (Unicellular) หรือหลายเซล์ (Multicellular) แต่ทว่าเซลล์เหล่านั้นต่างก็เป็นเซลล์ชนิดเดียวกันและมีรูปร่างเหมือนกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จุลินทรีย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆตามประเภทของเซลล์ คือ

  1. โปรคารีโอต คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
  2. ยูคารีโอต คือ มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น เชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่ายต่างๆ ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

ประเภทของจุลินทรีย์

  1. แบคทีเรีย (Bacteria)
  2. เชื้อรา (Fungi)
  3. โปรโตซัว (Protozoa)
  4. สาหร่าย (Algae)
  5. ไวรัส (Virus)

มาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์แต่ละประเภทกัน

แบคทีเรีย (Bacteria)

เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงส่องดูจึงมองเห็นประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว และเป็นพวกโปรคารีโอต มีผนังเซลล์ที่คงรูป (Rigid cell wall) ทำให้แบคทีเรียรักษารูปร่างได้ แบคทีเรียมีรูปร่างได้หลายแบบมีเพศและไม่มีเพศ โดยแบบมีเพศเกิดจากการรวมตัวของเซลล์ 2 เซลล์ ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศโดยทั่วไปเป็นแบบ Binary fission บ้างก็เป็นการแตกหน่อ (Budding) แบคทีเรียสามารถพบได้ทั่วๆไปไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ มีทั้งชนิดที่ให้ประโยชน์และบางชนิดก็เป็นโทษ ตัวอย่างของแบคทีเรีย เช่น Bacillus spp. Lactobacillus spp. Streptococcus spp. Staphylococcus spp. Escherichia coli Proteus vulgaris Spirillum spp. และ Streptomyces spp. เป็นต้น


เชื้อรา (Fungi)

เป็นจุลินทรีย์ที่มีเซลล์แบบยูคารีโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดี่ยวคือยีสต์ (Yeast) ซึ่งส่วนใหญ่สืบพันธุ์ โดยการแตกหน่อ และหลายเซลล์ซึ่งได้แก่ รา (Mold) โดยมีรูปร่างเป็นเส้นใย (Filamentous) ส่วนของเส้นใยเรียกว่า ไฮฟี (Hyphae) ถ้าไฮฟีมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) เส้นใยมีทั้งแบบมีผนังกั้นและไม่มีผนังกั้น ผนังเซลล์ของเชื้อราแตกต่างจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียขนาดและรูปร่างของเชื้อราแตกต่างกันไป บางชนิดต้องใช้กล้องส่องดู เช่าน เซลล์ยีสต์ ที่โตขึ้นมาได้แก่ พวกที่มีลักษณะเป็นเส้นใย และที่สามารถมองเป็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ เห็ด (Mushroom) ซึ่งเกิดจากเส้นใยของเชื้อรามาอยู่รวมกันและอัดแน่นเป็นดอกเห็นขนราดใหญ่ เชื้อราเจริญได้ดีในที่ที่มีความเป็นกรดสูง อาหารเลี้ยงเชื้อราจึงปรับ pH ประมาณ 4.0 ราทุกชนิดเป็นพวกที่ต้องการอากาศส่วนใหญ่ชอบอุณหภูมิปานกลาง การสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ ต้วอย่างของเชื้อราพวกที่เป็นเซลล์เดียว เช่น ยีส Saccharomyces cerevisiae ส่วนพวกหลายเซลล์ที่เป็นเส้นใย เช่น Rhizopus spp. Aspergillus spp. Penicilliun spp. และเห็น เช่น เห็ดฟาง Volvariella volvaceae

โปรโตซัว (Protozoa)

ลักษณะเซลล์เป็นเซลล์เดียวและเป็นพวกยูคารีโอตแต่ไม่มีผนังเซลล์ เป็นจุลินทรีย์ที่มีวิวัฒนาการของเซลล์ไปมากที่สุด การแพร่พันธุ์มีทั้งแบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ โดยแบบไม่มีเพศอาจจะเป็น Binary fission การแตกหน่อ หรือการสั้งสปอร์ เป็นต้น สามารถเคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของวงจรชีวิต ขนาดและรูปร่างของโปรโตซัวมีความแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปแท่งหรือท่อน บางชนิดมีรูปร่างหลายแบบในช่วงการเจริญ บางชนิดเห็นได้ด้วยตาเปล่า พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ และในสิ่งมีชีวิต ปกติโปรโตซัวกินแบคทีเรียเป็นอาหาร ดังนั้นบริเวณที่มีแบคทีเรียมาย่อมมีโปรโตซัวมากตามไปด้วย และสำหรับโปรโตซัวที่เป็นปรสิตของสัตว์ พวกนี้จะเลี้ยงอย่างอิสระไม่ได้ต้องอยู่กับเซลล์เจ้าบ้าน (Host cell) เท่านั้น

สาหร่าย (Algae)

เป็นจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงได้ เพราะมีคลอโตฟีลล์ การสังเคราะห์แสงเหมือนพืชชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุ (Pigment) อื่นๆอีก ทำให้สาหร่ายมีสีต่างๆกันไป เช่น สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล สีน้ำเงิน ซึ่งใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสาหร่าย หรืออาจใช้ประเภทของคลอโรฟิลล์ในการจัดจำแนกก็ได้เช่นกัน ลักษณะของเซลล์เป็นพวกยูคารีโอต มีทั้งพวกที่เป็นเซลล์เดีวมีขนาดเล็กต้องส่องดูด้วยกล้อง บางชนิดมีหลายเซลล์ขนาดใหญ่อาจยาวถึง 100 ฟุต ลักษณะรูปร่างต่างกันไป เช่น รูปกลม รูปท่อน รูปเกลียว รูปแฉก รูปกระสวย บางชนิดเซลล์อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเช่าน Volvox บ้างต่อกันเป็นสาย เช่น Anabacna บ้างเรียงกันเป็นแผ่น เช่น Ulva สาหร่ายพวกที่เคลื่อนที่ได้จะอาศัยแฟลกเจลลา หรือเท้าเทียม การสืบพันธุ์มีทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ เนื่องจากสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้บริเวณที่แสงส่องถึงจึงสามารถพบสาหร่ายได้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ พื้นดิน และพื้นผิวที่ชื้นแม้กระทั่งหิน

ไวรัส (Virus)

ไวรัสไม่สามารถจัดเป็นเซลล์ได้ เพราะขาดโครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์อีกทั้งไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างอิสระได้ จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพื่อดำรงชีวิตและเพื่อการเพิ่มจำนวนเรียกลักษณะนี้ว่า Obligate intracellular parasite โครงสร้างของไวรัสจะประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกที่เป็น DNA หรือ RNA เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และมีโปรตีนที่เรียกว่า Capsid หุ้มอยู่ นอกจากนี้อาจมีเยื่อหุ้มที่เรียกว่า Envelope ไวรัสมีขนาดเล็มากประมาณ 20-25 นาโนเมตร จนถึง 200-300 นาโนเมตร จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา หากแต่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ตามธรรมชาติพบไวรัสได้ทั่วไปโดยอาศัยอยู่กับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ตลอดจนจุลินทรีย์


++โดยเป็นทั้งจุลินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ทั้งต่อมนุษย์และสัตว์ และก็เป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ++

🌳 แต่ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในระบบรากใต้ดิน ( Mycorrhizae ) และก็ทำงานร่วมกับรากพืช เป็นจุลินทรีย์ดีที่สร้างสัมพันธภาพที่เกื้อหนุนกัน (symbiotic relationship) ระหว่างรากพืชและจุลินทรีย์ และสร้างความสมบูรณ์ให้กับดินและสภาพแวดล้อมโดยรวม 🌱🌏 🌳 แถมทำให้ต้นไม้พืชพรรณเจริญเติบโตงอกงาม ก็จะมีกลุ่ม 📍แบคทีเรีย (Bacteria) และ📍เชื้อรา (Fungi) เป็นหลัก


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

Mycorrhizae (โลกใต้ผืนดิน )


แหล่งข้อมูล :
หนังสือนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ ( รองศาตราจารย์ ดร.ดวงพร คันธโชติ )
OrganicMellow
Nature.com
Water.me.vccs.edu
Lakesuperiorstreams.org
Science.howstuffworks.com


ติดตามสาระ GREENTIPS ไอเดียหลากหลายที่ 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
Line: @BIO100
IG: instagram.com/bio100plus

Saturday 11 September 2021

ดินเสื่อมโทรม จุลินทรีย์ช่วยได้

โลกร้อน ผืนดินเสื่อมโทรม

การเพิ่มของประชากร ในอัตรา แบบก้าวกระโดด การใช้ทรัพยากรเกินสมดุล สร้างภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบการเพาะปลูกของโลกเราโดยตรง ด้วยอุณหภูมิที่แปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนน้อยลง ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน แม่น้ำหลายสายเหือดแห้งลงจนแทบไม่เหลือสายน้ำไหล

ปกติ น้ำไหลลงจากป่าเขาลำห้วยในที่สูงลงมาสู่ที่ราบลุ่มต่ำ พร้อมกับพัดพาตะกอนดิน เศษวัสดุ กิ่งไม้ใบหญ้าพร้อมธาตุอาหารใหม่ที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุผังของอินทรีย์สาร เช่นซากพืชซากสัตว์ ทับถมสะสมอยู่ในดินในป่าบนเขา และนำพาตะกอนมารวมกันและไหลลงมาตามสายทางน้ำ ลงจากในพื้นที่เพาะปลูกเบื้องล่าง น้ำแล้งฝนน้อยทำให้น้ำไม่มี หรือมีน้อย การเติมเต็มหรือแลกเปลี่ยนธาตุอาหารและฟื้นฟูสภาพดินในแต่ละปีก็ลดน้อยลง หรือขาดหายไปโดยสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อน้ำน้อยและดินแห้งแล้ง ต้นไม้ทั้งหมก็จะประสพปัญหาเพิ่มเติม เนื่องจากความชื้นในดินเป็นตัวสำคัญในการช่วยย่อยสลาย และเป็นตัวช่วยทำละลายแร่ธาตุและสารอาหารในดิน เพื่อให้รากพืชนำไปใช้ได้

สรุปโดยรวม เมื่อฝนน้อยน้ำน้อยดินแห้ง พืชก็ตกที่นั่งลำบาก สามารถดูดอาหารจากดิน (ที่ก็มีอาหารน้อยอยู่แล้ว) เพื่อนำไปสร้างการเติบโดได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก หลายครั้งที่พืชเกิดความเครียดและหยุดการเจริญเติบโต หรือเสียหายเสื่อมโทรมถาวร

ไม่ใช่เพียงฝนตกมากน้อย ปริมาณน้ำฝนและความแห้งแล้งเท่านั้นที่มีผลต่อการอยู่รอดของพืช สภาพแวดล้อมอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แสงแดด ความชื้นสัมพัทธ์ทั้งบนดินหรือในอากาศ หรือแม้แต่ความเป็นกรดด่าง pH valuesในดิน ล้วนมีผลต่อการสังเคราะห์อาหารจากดินของพืชแทบทั้งสิ้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกไปสู่ความแห้งแล้ง ตามภาวะกาณ์โลกร้อนนี้ยิ่งนานวัน ยิ่งทวีความรุนแรง และก็เป็นแบบคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง ในระยะช่วงไม่กี่ปีนี้ หลายเหตุการณ์มีระดับความรุนแรง แบบไม่ได้เกิดขึ้นมานานเป็นทศวรรษ หรือเป็นศตวรรษและแต่ละครั้งทำลายสมดุลของธรรมชาติหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

บริเวณรากพืชเต็มไปด้วยจุลชีพมากมาย

**Mycorrhizae** เป็นสัมพันธภาพที่เกื้อหนุนกัน (symbiotic relationship) ระหว่างสิ่งมีชีวิต 3 กลุ่ม 1.รากพืช 2.เชื้อราและ 3.แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ ที่อยู่ในดินบริเวณรากต้นไม้ โดยจุลินทรีย์ในดิน ( _mircro-organisms_ หรือ _microbes )_ จะเป็นตัวจักรสำคัญ เป็นตัวช่วยเร่งปฎิกิริยา สร้างความร่วมมือกันระหว่าง ให้ทำงานสอดประสานกัน ในสภาพแวดล้อม เป็นตัวช่วยสำคัญในการปรับสภาพสภาวะแวดล้อมที่ขาดสมดุล ของ 2 องค์ประกอบหลักในสภาพแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิต BIOTIC และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ABIOTIC ให้เอื้อกับการอยู่รอดและเติบโตของพืช เช่น ทำลายเชื้อก่อโรคหรือแมลงศัตรูพืช ช่วยให้พืชสามารถปรับตัวให้ทนสภาวะแห้งแล้ง หรือดินเปรี้ยวดินเค็มได้ดีขึ้น

 

Biotic หรือองค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย

-   ต้นพันธ์ หรือตระกูลพืช (species) ที่อยู่บริเวณนั้น

-   กิจกรรมของมนุษย์หรือสัตว์ที่กระทำต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไถกลบ หรือการเล็มหญ้าของสัตว์

-   พืชในแต่ละช่วงอายุ

-   พยาธิสภาพหรือสุขภาพของพืช

Biotic หรือองค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย
  • ต้นพันธ์ หรือตระกูลพืช (species) ที่อยู่บริเวณนั้น
  • กิจกรรมของมนุษย์หรือสัตว์ที่กระทำต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไถกลบ หรือการเล็มหญ้าของสัตว์
  • พืชในแต่ละช่วงอายุ
  • พยาธิสภาพหรือสุขภาพของพืช
Abiotic
  • คุณภาพของดิน (ธาตุอาหารในดิน)
  • สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
  • สภาพดิน ความแห้ง ความชื้น ค่าความเป็นกรดด่าง
  • สารเคมีตกค้าง โลหักหนัก ดินเปรี้ยวดินเค็ม เป็นต้น

จุลินทรีย์ตัวช่วย

หน้าที่หลักของจุลินทรีย์ในดิน (ซึ่งรวมถึงแบคทีเรีย ยีสต์ราในดินตามธรรมชาติ)ทำงานของมันแบบไม่มีวันหยุด เป็นตัวประสานให้ทั้ง 3 กลุ่มผู้เล่นใน Mycorrhizae ทำหน้าที่ได้เข้าขากัน symbiotic และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในระบบนิเวศในดินบริเวณนั้น มาสร้างเป็นธาตุอาหาร ให้พลังงานพืชเพื่อเติบโต

ตัวจุลินทรีย์จะ metabolize โดยปล่อยเอนไซม์หลายชนิด บางตัวช่วยทำละลายฟอสเฟส (อนุภาคสำคัญของปุ๋ย) สร้างฮอร์โมนพืช ตรึงไนโตรเจน ช่วยพืชดูดซับน้ำ สารอาหาร พัฒนาราก และการแลกเปลี่ยนสารละลาย osmosis ช่วยให้พืชเข้าถึงธาตุอาหารในดิน (และปุ๋ย)ได้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพของการนำสารอาหารในดิน(และปุ๋ย)ในบริเวณราก ไปใช้ได้ดีขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยโดยรวม ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยผลผลิตได้

ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างภูมิต้านทานให้พืชทนต่อเชื้อโรคหรือหนอนพยาธิ ทำลายเชื้อโรคหรือแบคทีเรียก่อโรคและเป็นอันตรายที่ปะปนอยู่ในดิน

และจุลินทรีย์ธรรมชาติในดิน ยังแทบจะเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดด่างขึ้นลง เปลี่ยนแปลงเร็วได้ดีมาก โดยมันมีกลไกปรับตัวเองแบบอัตโนมัติ ไม่เพียงให้สามารถทนอยู่กับสภาพกรดด่างรุนแรง ทั้งยังเป็นตัวปรับสมดุลสภาพแวดล้อมรอบตัวมัน เพื่อให้มันสามารถเจริญเติบโตดี ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผืนดินบริเวณนั้น มีสภาวะกรดด่างสมดุลดีขึ้น พืชพรรณกลับมาเจริญเติบโตได้

การค้นคว้าศึกษาเรื่อง Mycorrhizae เพื่อนำศาสตร์ความรู้นี้มาเป็น

Crop Probiotic ตัวช่วยในการช่วย *ปรับสมดุลของดิน* มีปัญหา ลดความเครียดของพืช โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเกษตรเชิงเดี่ยว stress & nutrient imbalance

มีการส่งเสริมงานวิจัยจากหลายสถาบัน เพื่อจะส่งเสริมการพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ดีเป็น Active Constituents ที่สามารถส่งเสริม สภาวะ Mycorrhizae ทำให้รากพืชใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพิงปุ๋ยเคมีอันตราย รวมถึงยากำจัดศัตรูพืช ประหยัดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบนิเวศน์

ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ Microbial Biostimulantในท้องตลาด มากมายหลายยี่ห้อ หลายชนิดก็เป็น จุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่พร้อมให้นำมาเลือกใช้เพื่อปรับปรุงสภาพดินได้แบบด่วน

ประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรพันธุกรรมทั้งพืชและจุลินทรีย์ที่รอให้นำมาใช้ หรือแบคทีเรียที่ดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้โดยไม่ต้องซื้อ ความรู้วิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเรา จึงสำคัญยิ่งในการปรับระบบการเพาะปลูกของประเทศในยุคโลกร้อน

ที่สำคัญ การที่เราใช้ปุ๋ยน้อยลง (รวมทั้งยากำจัดศัตรูพืช ยังช่วยลดปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร Food Foxicity ลดปัญหาการรับสารพิษของเกษตรกรขณะทำงาน Working Hazard และยังลดปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินเค็ม ระยะยาว // เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ต้องรับพิษภัยจากมลพิษ เคมีแปลกปลอม ก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองในระยะยาว

ที่มาของข้อมูล
https://www.teriin.org
https://www.frontiersin.org

image

ติดตาม GREENTIPS ทาง 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : BIO100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent

 

โพสต์เด่น

10 ไม้ยืนต้นออกดอกสวย

มาสู้โลกร้อนกันด้วยการ ปลูกต้นไม้ในบ้านกัน นอกจากลดการใช้พลังงานฟอสซิล หันมาใช้พลังงานสะอาด ก็คือช่วยการปลูกต้นไม้ 🌳 🌿 🌱 เพิ่มพื้นท...

โพสต์น่าสนใจ