Showing posts with label ปุ๋ยชีวภาพ. Show all posts
Showing posts with label ปุ๋ยชีวภาพ. Show all posts

Tuesday 19 October 2021

ทำไร่ทำนา + ปลูกป่าผสม = วนเกษตร

ระบบ วนเกษตร หรือ Agro-Forestry เป็นศาสตร์ของการจัดการทรัพยากรในพื้นที่เพาะปลูก (Land resouce managemeng) อย่างเป็นระบบ โดยผสมผสาน การทำป่าไม้ (Forestry) การเพาะปลูกพืช (Agriculture) การทำปศุสัตว์ และการประมงเลี้ยงสัตว์น้ำ Animal husbandry, Aquaculture & Fisheries หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการทำการเกษตรโดยรวมหลากหลายชนิดของพืชและสัตว์มาไว้ในผืนดินเดียวกัน อย่างเหมาะสมและมีความสมดุล เพื่อให้ระบบมีความคล้ายคลึงกับระบบนิเวศน์ป่าทางธรรมชาติ ที่ความซับซ้อนและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผลผลิตจากพืชและสัตว์ที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในดิน ในธรรมชาติบริเวณนั้นแบบองค์รวม เกิดผลผลิตหลากหลาย และหมุนเวียนธาตุอาหาร ให้สมดุลและมีเสถียรภาพและความยั่งยืนระยะยาว โดยสรุป การทำเกษตรแบบวนเกษตร ที่ดีจะช่วยเพิ่มความสามารถของผืนดินในการซึมซับน้ำ การรักษาน้ำใต้ดิน และลดการสูญเสียหน้าดิน

agro-forestry ประโยชน์จากใบไม้ที่ร่วงหล่น ของไม้ใหญ่
ปลูกไม้ใหญ่ควบคู่กับการทำไร่ | เครดิตภาพ : tunza.eco-generation.org

วนเกษตร หรือที่ถ้าเรียกให้เข้าใจชัดขึ้นว่า ระบบไร่นาป่าผสม มีความหมายตรงตัวคือ การทำเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาหรือปลูกพืชไร่ (หรือไม้ชั้นล่าง) ควบคู่ไปกับการปลูกไม้ยืนต้นหนาแน่น จนดูคล้ายนิเวศน์ธรรมชาติของป่า ไม่ว่าจะเป็นปลูกไม้ผลหรือไม้ใช้สอย (โดยปลูกไม้ช้ันบนนี้ในหลายชั้นความสูง ลดหลั่นกันไป) โดยมีการผสมผสานกับการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร หรือไม้พุ่มเตี้ย

โดยไม้ชั้นบนที่ใช้ควรมีกิ่งก้านแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง สามารถให้เป็นที่กำบัง ลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบผืนดิน ช่วยบังพายุ ฝน รวมทั้งควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ
ขณะที่ ไม้ชั้นล่าง ที่มีการปลูกแบบเป็นแปลงหมุนเวียน ให้ทั้งผลผลิตระยะสั้นแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ไม้ชั้นล่างที่เลือกปลูกภายใต้ร่มเงาไม้ปกคลุม ควรเป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงแดดมาก และสามารถรับประโยชน์จากความชื้นสูงจากการที่มีไม้ผล ไม้ยืนต้น (ไม้ชั้นบน) คอยเป็นกำบังแสงแดดรุนแรงให้

โดยเราแบ่งไม้ชั้นบนที่จะปลูกในแต่ละชั้นความสูง ตามระดับของแสงแดดที่ไม้แต่ละชนิดต้องการ เพื่อสามารถกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสม  

  • พืชที่ต้องการแสงมาก พวกไม้ยืนต้น หรือไม้ใช้สอย เช่น สัก ประดู่ ยางนา หรือ ไม้ผล พวก หมาก มะพร้าว
  • พืชที่ต้องการแสงปานกลาง พวกไม้ผล เช่น มะม่วง มังคุด ทุเรียน ขนุน

และในกรณีที่พื้นดินมีขนาดกลางถึงใหญ่ การเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ การเลี้ยงเป็ดไก่ เลี้ยงปลาในนาข้าว หรือขุดบ่อปลา จะกระทั่งเลี้ยงหู หรือวัวควายในพื้นที่ กรณีที่พื้นที่เพียงพอ จะยิ่งช่วยพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเพิ่มศักยภาพของดินและประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต แถมยังสร้างความมั่นคงในเชิงเศรษฐกิจ จากการมีผลิตผลหลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งการใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่เอง หรือการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้

จากนิยามข้างต้น เราจะห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญอันดับแรกของ วนเกษตร ก็คือการมีไม้ยืนต้นปลูก "หนาแน่น" ให้เพียงพอกับความเป็น 'ป่า" ธรรมชาติ เพื่อสร้างนิเวศน์ป่าในพื้นที่การเกษตร

ปัจจัยบวกของการมีไม้ยืนต้นในแปลงเกษตร

  1. ไม้ยืนต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้ผลหรือไม่ใช้สอย เป็นตัวเพิ่มรายได้ให้กับเกษตกร ในระยะยาว
  2. เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรมี "ไม้" ไว้ใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น เป็นไม้ฟืน ไม้ค้ำยัน ไม้สร้างบ้าน โดยไม่ต้องเสียเงินไปหาซื้อ
  3. ต้นไม้ใหญ่รีไซเคิลธาตุอาหารได้มาก จากการดูดซับสารอาหารจากสภาพแวดล้อม แปรสภาพเป็นลำต้น กิ่งก้าน และใบไม้ที่ร่วงหล่น ซึ่งที่สุดก็สลายคืนสู่ดินกลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ
  4. ระบบนิเวศน์ไม้ใหญ่ดึงดูดสัตว์เล็กนกกาเข้ามาอยู่อาศัย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศน์ ลดการใช้ปู๋ย ยาฆ่าแมลงหรือยากำจัดศัตรู
  5. ไม้ใหญ่ช่วยกำบังลม และแสงแดด ลดการเกิดของวัชพืช

เงื่อนไขพื้นฐานของการเลือกพันธ์ไม้ยืนต้นในระบบวนเกษตร

  • ควรเลือกพันธ์ไม้ที่ไม่ต้องการน้ำมากเกินไป จนแย่งน้ำของพืชตัวหลัก
  • ควรเลือกพันธ์ไม้ที่มีระบบรากไชลึก เพื่อจะได้ชอนไชลงหานำ้จากแกล่งใต้ดินชั้นลึก
  • ควรเลือกพันธ์ไม้ที่กิ่งก้านแผ่ขยายและแตกใบค่อนข้างโปร่ง เพื่อให้แสงแดดสามารถส่องลงไปสู่ไม้ชั้นล่างได้
  • ควรเลือกพันธ์ไม้โตเร็ว โดยเฉพาะพันธ์ไม้ใช้สอย เพื่อให้ช่วงที่ปลูกโตจนพร้อมใช้ และลงปลูกใหม่ ใช้เวลาไม่นานนกั
  • ควรเลือกพันธ์ไม้ไม่"แย่ง"ธาตุอาหารจากพืชหลัก แต่เพิ่มเติมธาตุอาหารให้ผืนดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว ที่มีใบย่อยสลายง่าย มีธาตุไนโตรเจนสูง ฟื้นสภาพดินได้รวดเร็ว

วนเกษตร มีทางเลือกในการปฏิบัติทางการเกษตรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และสภาพพื้นที่ โดยนักวิชาการได้จัดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 ประเภท ดังนี้

  1. วนเกษตรแบบบ้านสวน การปลูกไม้ป่าผสมในลักษณะนี้ จะมีต้นไม้และพืชผลหลายชั้นความสูง โดยเน้นปลูกไม้ผล ที่ให้ผลประเภทกินได้ และไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน เพื่อเป็นไม้ฟืนและถ่าน และพืชสมุนไพรและผักสวนครัว วนเกษรประเภทนี้ เหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการปลูกไม่มาก เช่น พื้นที่สวนหลังบ้าน
  2. วนเกษตรที่มีต้นไม้แทรกในไร่นา หรือทุ่งหญ้า เหมาะกับพื้นที่ซึ่งมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ โดยปลูกต้นไม้เสริมในที่ที่ไม่เหมาะสมกับพืชผล เช่น ที่เนิน หรือที่ลุ่มน้ำขัง และปลูกพืชในที่ราบ หรือที่ไม่สม่ำเสมอ
  3. วนเกษตรที่มีต้นไม้ล้อมนาไร่ การปลูกต้นไม้ล้อมพื้นที่นาข้าว และที่ราบลุ่มปลูกพืชไร่ ที่ซึ่งมีลมแรง และพืชผลมีโอกาศได้รับความเสียหายจากลมพายุอยู่เสมอ การปลูกต้นไม้โตเร็วยืนต้นรอบคันนา ยังเพิ่มความชุ่มชื้น บังแดดบังลมให้กับนาข้าวด้วย ผลผลิตไม้ก็สามารถนำมาใช้สอยในครัวเรือน เป็นถ่านเป็นฟืน
  4. วนเกษตรที่มีแถบต้นไม้และพืชผลสลับกัน เหมาะกับพื้นที่ที่มีความลาดชันเป็นแนวยาวน้ำไหลเซาะหน้าดินมาก แถบต้นไม้ซึ่งปลูกไว้สองถึงสามแถวสลับกับพืชผลเป็นช่วงๆ ปลูกขวางความลาดชัน จะช่วยรักษาหน้าดิน และในระยะยาวจะทำให้เกิดขั้นบันไดดินแบบธรรมชาติให้กับพื้นที่ สำหรับแถบพืช อาจมีความกว้าง 5-20 เมตร ตามความเหมาะสมของพื้นที่
  5. วนเกษตรที่ใช้พื้นที่หมุนเวียนปลูกไม้ยืนต้น พืชผล และเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่พอที่จะปลูกพืชผลเป็นแปลงหมุนเวียน โดยมีแปลงไม้ยืนต้นร่วมกับการเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนดิน

ระบบ วนเกษตร นอกจากจะเป็นแนวทาง ในการทำเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ตามนิยามข้างต้นแล้ว วนเกษตร ยังรวมถึงทำป่าไม้ผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ในบริเวณชายขอบระหว่าที่ดินเกษตรกร และรอยต่อที่ดินติดกับป่าด้วย หรืออาจเป็นการปลูกพืชเกษตร หรือการปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนป่า โดยเฉพาะที่กระทำโดยราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายขอบป่า ในเขตอ่อนไหว ซึ่งอาจเป็นทางออกที่ประณีประนอมสำหรับการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและความต้องการรักษาป่าไม้เพื่อควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้วิถีของคนและป่าสามารถดำเนินควบคู่กัน ไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง

Agro-Forestry System | ที่มาภาพ : Forestrypedia.com

***มันอาจจะเป็นทางออกสุดท้ายของการเพิ่มปริมาณต้นไม้ของมนุษย์ ทดแทนการที่ป่าถูกทำลายจากการบริโภคและตัดไม้ทำลายป่า


แหล่งอ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ:
https://tunza.eco-generation.org/m/index.jsp
https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-401591791808
https://www.matichon.co.th/sme/news_95430
https://www.naewna.com/local/400766
http://www.nawachione.org/2012/10/29/sustainable-agriculture/
http://ecoursesonline.iasri.res.in/mod/page/view.php?id=14511
https://forestrypedia.com/agroforestry-system-detailed-note/
https://en.wikipedia.org/wiki/Agroforestry


ติดตามสาระห่วงไยสิ่งแวดล้อม 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
IG: instagram.com/bio100plus
Line: @BIO100
Blockdit : GREENTIPS
🅱logger : GREENTIPS by BIO100

Wednesday 15 September 2021

จุลินทรีย์ชั้นสูง|มันคือเห็ดหรือเป็นมากกว่า...

 โลกแห่งจินตนาการของมนุษย์มันไร้ขีดจำกัดจริงๆ ศิลปินชาวอเมริกัน Philip Ross ช่างแกะสลัก นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง MycoWorks ผู้นำนวัตกรรมทางชีวภาพมาผสมผสานกับงานศิลป BIO-ART ได้เปิดโลกในอีกมุมหนึ่งที่เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึง หรือจินตนาการออกมาได้

myco-design

เขาสร้างสรรงานศิลปจาก เห็ด (Mushroom) พืชชั้นต่ำสกุล Fungi จากความช่างสังเกตุและการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจวงจรชีวิตของเห็ด เขาได้พบความอัศจรรย์ของธรรมชาติของพืชตระกูลเห็ดรา กระบวนการก่อตัวเจริญเติบโตสร้างเส้นใย ขยายพันธ์และเพิ่มมวลของตัวมัน รวมทั้งความยึดหยุ่นสูง การฟอร์มตัวสร้างรูปทรงได้ไร้ขอบเขต แถมยังทานทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่
จากจุดเริ่มต้นฟิลลิปใช้เวลาอีกเป็นหลายปี ศึกษาต่อยอดเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องศาสตร์ของเห็ดรา Mycology ผนวกกับความอัจริยะทางด้านดีไซน์ และงานสถาปัต Architectural Design ในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปมันก็ลงตัวออกมาเป็น "MycoWorks" นิยามที่เขาใช้เรียกผลงานการรวมศาสตร์ของ Mycology กับศิลปกรรม สร้างสรรออกมาเป็น Architectural Innovation & Design อันลงตัว

เห็ด (Mushroom) คือ ชีวอินทรีย์ (Living Micro-organism) จัดอยู่ในอาณาจักรฟันไจ (Fungi Kingdom) ซึ่งก็ที่จริงมันก็คือ เชื้อรา ชนิดหนึ่ง เป็นพืชชั้นต่ำตระกูลเดียวกัน ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องใช้จุลินทรีย์เป็นตัวช่วยย่อยสลายอินทรีย์สารที่อยู่รอบตัวมันมาเพื่อใช้เป็นอาหาร แต่อาจมีวิวัฒนาการขั้นสูงกว่า มันสามารพัฒนาเป็นดอก และออกผล มาเป็นกลุ่มก้อน มีมวลมากพอที่ให้เราเห็นด้วยตาเปล่า หลายชนิดนำมาบริโภคได้ แต่หลายชนิดก็มีพิษร้ายแรง ถ้าบริโภคเข้าไปอาจเป็นอัตรายถึงแก่ชีวิต เห็ดราที่เราคุ้นเคยกันดีก็คงเป็นเห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง เป็นต้น

Mycology the study of fungi, a group that includes the mushrooms and yeasts. Many fungi are useful in medicine and industry. Mycological research has led to the development of such antibiotic drugs as penicillin, streptomycin, and tetracycline, as well as other drugs, including statins (cholesterol-lowering drugs). Mycology also has important applications in the dairy, wine, and baking industries and in the production of dyes and inks. Medical mycology is the study of fungus organisms that cause disease in humans.

จุดเริ่มต้น

ฟิลิปศิลปินที่มีดีกรีจบ ด้านศิลปศาสตร์ จาก San Francisco Art Institute และก็ทำงานในแวดวงศิลปได้เปิดตัวงานออกแบบที่น่าขนลุก แต่ก็สร้างชื่อให้เขาเป็นที่รู้จัก เขาสร้างสรรชิ้นงาน เลียนแบบ ซากเครื่องบิน PANAM Flight103 ที่ถูกยิงตกที่ Lokerbie, Scotland ด้วยเศษวัสดุเก่า เศษของเหลือใช้และที่ถูกทิ้ง เพื่อนำมันมาออกแสดงในนิทรรศการ

ชิ้นงานของเขาที่อาจดูธรรมดาแต่กลับไม่ธรรมดา เพราะเขาได้เติมสปอร์ของเห็ดเป๋าฮื้อลงไป พร้อมด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อจำนวนหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ได้ก็คืองานแสดงที่มีชีวิต ตลอดระยะเวลา 5 สัปดาห์ของนิทรรศการ ผู้เข้าชมต่างได้เห็น ตัวงานแสดงค่อยๆเปลี่ยนรูปลักษณ์ และรูปทรง จากการที่เห็ดขยายพันธ์ กิน หรือก็คือย่อยสลาย ซากเครื่องบินจำลอง ออกดอกเห็ด ขยายสปอร์ ขยายตัวกินพื้นที่เพิ่มไปทีละเล็กละน้อย จนชิ้นงานเดิมเปลี่ยนโฉมโดยสิ้น (เหตุการณ์ที่ปกติ มันก็ดำเนินตามครรลองของธรรมชาติอยู่แล้ว)

mycoworks

แต่งานที่ทำให้โลกรู้จักศิลปินผู้นี้ ก็คงเป็นตอนที่เขานำผลงานที่เกิดจาก Mycotectural Alpha ก้อนอิฐที่พัฒนาจากเชื้อราที่เขาค้นพบ ออกแสดงในงานศิลปะที่พิพิธสถาน Düsseldorf ในเยอรมันนี

เรือนรับรองหลังจิ๋ว Teahouse ขนาด ราว 2x2 เมตร ที่สร้างขึ้นมาเปิดให้คนเข้าชมสัมผัสทดสอบ และก็เข้าไปนั่งชมด้านในได้ ละไฮไลท์ของมัน คือเขาให้คนเข้าไปนั่งจิบชา ชาที่ชงมาจากก้อน(เห็ด)อิฐ วัสดุตัวเดียวกับที่เขากำลังนั่งอยู่ภายใต้หลังคาของมัน

อิฐของฟิลิปเกิดจากการนำสปอร์ของเห็ดราชนิดนึง ใส่เข้าไปในแม่พิมพ์ที่อัดด้วยขี้เลื่อยที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยการพาสเจอไรซ์ โดยเมื่อเห็ดราย่อยสลายขี้เลื่อยไปเป็นอาหาร สร้างพลังงานและเติบโดขยายตัวในแม่พิมพ์ที่เขาจัดเตรียมขึ้นมา จนได้โครงข่ายเนื้อเยื่อ (หรือ mycelium) ขยายตัวอัดแน่นเต็มแม่พิมพ์ ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ชิ้นงานที่ได้ออกมาเป็นอิฐมวลเบา มีความแข็งแรง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร้อนหนาวรุนแรง เป็นฉนวนชั้นดี

mycotecture

มันเป็นนวัตกรรมทางด้านวัสดุทางเลือก ของอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกในอนาคตเลยก็ว่าได้ ความยืดหยุ่นของประโยชน์ใช้สอย ความแข็งแรง ที่แกร่งกว่าคอนกรีต (วัดสุทนทานถึงขนาดกระสุนปืนขนาด 0.38 ไม่สามารถยิงทะลุผ่านอออกมาได้) กันน้ำได้และไม่ลามไฟ แถมยังมีความเป็นฉนวน ตัววัสดุไม่ขึ้นรา(ถ้าไม่คิดว่าตัวมันก็ทำมาจากเชื้อรา 😀) และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์สัตว์ และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม … มันเป็นวัสดุรักษ์โลกโดยแท้ ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ นอกจากในวงการก่อสร้างแล้ว ยังมีโอกาสนำวัสดุตัวนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลากหลาย

art งานศิลปร่วมสมัย .. ล้ำสมัย

ในที่สุด เขาก็พัฒนาการใช้งานให้เข้าใกล้ตัวมากขึ้น mycelium ได้ถูกพัฒนาต่อยอดไป ทักทอเป็นแผ่นหนังให้ความรู้สึกและผิวสัมผัสเหมือนหนังวัวชั้นดี รอยย่นของผิวหนังที่แตกต่างกันไป ไม่เท่ากัน ไม่สม่ำเสมอ เหมือนธรรมชาติของหนังสัตว์แท้ไม่ผิดเพี้ยน

myco-furniture *by MYCOWORKS.COM

และจุดสูงสุดก็ที่ล่าสุดทาง Hermès ให้ความสนใจนำไปทำเป็นกระเป๋า Victoria Bag ใช้วัสดุใหม่ในชื่อว่า Sylvania เป็นการผสมผสานวัสดุธรรมชาติกับไบโอ-วิศวกรรมโดยนำแผ่นหนัง Mycelium เป็นส่วนประกอบหลัก ได้กระเป๋าใบสวยงามสง่า สมกับการเป็นวัสดุ BIO-INNOVATION อย่างแท้จริง

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
AltaOnline.com
Vice.com
Britanica.com
MYCOWORKS

image

ติดตาม GREENTIPS ทาง 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : BIO100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent 



Saturday 11 September 2021

ดินเสื่อมโทรม จุลินทรีย์ช่วยได้

โลกร้อน ผืนดินเสื่อมโทรม

การเพิ่มของประชากร ในอัตรา แบบก้าวกระโดด การใช้ทรัพยากรเกินสมดุล สร้างภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบการเพาะปลูกของโลกเราโดยตรง ด้วยอุณหภูมิที่แปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนน้อยลง ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน แม่น้ำหลายสายเหือดแห้งลงจนแทบไม่เหลือสายน้ำไหล

ปกติ น้ำไหลลงจากป่าเขาลำห้วยในที่สูงลงมาสู่ที่ราบลุ่มต่ำ พร้อมกับพัดพาตะกอนดิน เศษวัสดุ กิ่งไม้ใบหญ้าพร้อมธาตุอาหารใหม่ที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุผังของอินทรีย์สาร เช่นซากพืชซากสัตว์ ทับถมสะสมอยู่ในดินในป่าบนเขา และนำพาตะกอนมารวมกันและไหลลงมาตามสายทางน้ำ ลงจากในพื้นที่เพาะปลูกเบื้องล่าง น้ำแล้งฝนน้อยทำให้น้ำไม่มี หรือมีน้อย การเติมเต็มหรือแลกเปลี่ยนธาตุอาหารและฟื้นฟูสภาพดินในแต่ละปีก็ลดน้อยลง หรือขาดหายไปโดยสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อน้ำน้อยและดินแห้งแล้ง ต้นไม้ทั้งหมก็จะประสพปัญหาเพิ่มเติม เนื่องจากความชื้นในดินเป็นตัวสำคัญในการช่วยย่อยสลาย และเป็นตัวช่วยทำละลายแร่ธาตุและสารอาหารในดิน เพื่อให้รากพืชนำไปใช้ได้

สรุปโดยรวม เมื่อฝนน้อยน้ำน้อยดินแห้ง พืชก็ตกที่นั่งลำบาก สามารถดูดอาหารจากดิน (ที่ก็มีอาหารน้อยอยู่แล้ว) เพื่อนำไปสร้างการเติบโดได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก หลายครั้งที่พืชเกิดความเครียดและหยุดการเจริญเติบโต หรือเสียหายเสื่อมโทรมถาวร

ไม่ใช่เพียงฝนตกมากน้อย ปริมาณน้ำฝนและความแห้งแล้งเท่านั้นที่มีผลต่อการอยู่รอดของพืช สภาพแวดล้อมอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แสงแดด ความชื้นสัมพัทธ์ทั้งบนดินหรือในอากาศ หรือแม้แต่ความเป็นกรดด่าง pH valuesในดิน ล้วนมีผลต่อการสังเคราะห์อาหารจากดินของพืชแทบทั้งสิ้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกไปสู่ความแห้งแล้ง ตามภาวะกาณ์โลกร้อนนี้ยิ่งนานวัน ยิ่งทวีความรุนแรง และก็เป็นแบบคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง ในระยะช่วงไม่กี่ปีนี้ หลายเหตุการณ์มีระดับความรุนแรง แบบไม่ได้เกิดขึ้นมานานเป็นทศวรรษ หรือเป็นศตวรรษและแต่ละครั้งทำลายสมดุลของธรรมชาติหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

บริเวณรากพืชเต็มไปด้วยจุลชีพมากมาย

**Mycorrhizae** เป็นสัมพันธภาพที่เกื้อหนุนกัน (symbiotic relationship) ระหว่างสิ่งมีชีวิต 3 กลุ่ม 1.รากพืช 2.เชื้อราและ 3.แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ ที่อยู่ในดินบริเวณรากต้นไม้ โดยจุลินทรีย์ในดิน ( _mircro-organisms_ หรือ _microbes )_ จะเป็นตัวจักรสำคัญ เป็นตัวช่วยเร่งปฎิกิริยา สร้างความร่วมมือกันระหว่าง ให้ทำงานสอดประสานกัน ในสภาพแวดล้อม เป็นตัวช่วยสำคัญในการปรับสภาพสภาวะแวดล้อมที่ขาดสมดุล ของ 2 องค์ประกอบหลักในสภาพแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิต BIOTIC และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ABIOTIC ให้เอื้อกับการอยู่รอดและเติบโตของพืช เช่น ทำลายเชื้อก่อโรคหรือแมลงศัตรูพืช ช่วยให้พืชสามารถปรับตัวให้ทนสภาวะแห้งแล้ง หรือดินเปรี้ยวดินเค็มได้ดีขึ้น

 

Biotic หรือองค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย

-   ต้นพันธ์ หรือตระกูลพืช (species) ที่อยู่บริเวณนั้น

-   กิจกรรมของมนุษย์หรือสัตว์ที่กระทำต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไถกลบ หรือการเล็มหญ้าของสัตว์

-   พืชในแต่ละช่วงอายุ

-   พยาธิสภาพหรือสุขภาพของพืช

Biotic หรือองค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย
  • ต้นพันธ์ หรือตระกูลพืช (species) ที่อยู่บริเวณนั้น
  • กิจกรรมของมนุษย์หรือสัตว์ที่กระทำต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไถกลบ หรือการเล็มหญ้าของสัตว์
  • พืชในแต่ละช่วงอายุ
  • พยาธิสภาพหรือสุขภาพของพืช
Abiotic
  • คุณภาพของดิน (ธาตุอาหารในดิน)
  • สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
  • สภาพดิน ความแห้ง ความชื้น ค่าความเป็นกรดด่าง
  • สารเคมีตกค้าง โลหักหนัก ดินเปรี้ยวดินเค็ม เป็นต้น

จุลินทรีย์ตัวช่วย

หน้าที่หลักของจุลินทรีย์ในดิน (ซึ่งรวมถึงแบคทีเรีย ยีสต์ราในดินตามธรรมชาติ)ทำงานของมันแบบไม่มีวันหยุด เป็นตัวประสานให้ทั้ง 3 กลุ่มผู้เล่นใน Mycorrhizae ทำหน้าที่ได้เข้าขากัน symbiotic และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในระบบนิเวศในดินบริเวณนั้น มาสร้างเป็นธาตุอาหาร ให้พลังงานพืชเพื่อเติบโต

ตัวจุลินทรีย์จะ metabolize โดยปล่อยเอนไซม์หลายชนิด บางตัวช่วยทำละลายฟอสเฟส (อนุภาคสำคัญของปุ๋ย) สร้างฮอร์โมนพืช ตรึงไนโตรเจน ช่วยพืชดูดซับน้ำ สารอาหาร พัฒนาราก และการแลกเปลี่ยนสารละลาย osmosis ช่วยให้พืชเข้าถึงธาตุอาหารในดิน (และปุ๋ย)ได้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพของการนำสารอาหารในดิน(และปุ๋ย)ในบริเวณราก ไปใช้ได้ดีขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยโดยรวม ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยผลผลิตได้

ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างภูมิต้านทานให้พืชทนต่อเชื้อโรคหรือหนอนพยาธิ ทำลายเชื้อโรคหรือแบคทีเรียก่อโรคและเป็นอันตรายที่ปะปนอยู่ในดิน

และจุลินทรีย์ธรรมชาติในดิน ยังแทบจะเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดด่างขึ้นลง เปลี่ยนแปลงเร็วได้ดีมาก โดยมันมีกลไกปรับตัวเองแบบอัตโนมัติ ไม่เพียงให้สามารถทนอยู่กับสภาพกรดด่างรุนแรง ทั้งยังเป็นตัวปรับสมดุลสภาพแวดล้อมรอบตัวมัน เพื่อให้มันสามารถเจริญเติบโตดี ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผืนดินบริเวณนั้น มีสภาวะกรดด่างสมดุลดีขึ้น พืชพรรณกลับมาเจริญเติบโตได้

การค้นคว้าศึกษาเรื่อง Mycorrhizae เพื่อนำศาสตร์ความรู้นี้มาเป็น

Crop Probiotic ตัวช่วยในการช่วย *ปรับสมดุลของดิน* มีปัญหา ลดความเครียดของพืช โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเกษตรเชิงเดี่ยว stress & nutrient imbalance

มีการส่งเสริมงานวิจัยจากหลายสถาบัน เพื่อจะส่งเสริมการพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ดีเป็น Active Constituents ที่สามารถส่งเสริม สภาวะ Mycorrhizae ทำให้รากพืชใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพิงปุ๋ยเคมีอันตราย รวมถึงยากำจัดศัตรูพืช ประหยัดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบนิเวศน์

ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ Microbial Biostimulantในท้องตลาด มากมายหลายยี่ห้อ หลายชนิดก็เป็น จุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่พร้อมให้นำมาเลือกใช้เพื่อปรับปรุงสภาพดินได้แบบด่วน

ประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรพันธุกรรมทั้งพืชและจุลินทรีย์ที่รอให้นำมาใช้ หรือแบคทีเรียที่ดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้โดยไม่ต้องซื้อ ความรู้วิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเรา จึงสำคัญยิ่งในการปรับระบบการเพาะปลูกของประเทศในยุคโลกร้อน

ที่สำคัญ การที่เราใช้ปุ๋ยน้อยลง (รวมทั้งยากำจัดศัตรูพืช ยังช่วยลดปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร Food Foxicity ลดปัญหาการรับสารพิษของเกษตรกรขณะทำงาน Working Hazard และยังลดปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินเค็ม ระยะยาว // เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ต้องรับพิษภัยจากมลพิษ เคมีแปลกปลอม ก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองในระยะยาว

ที่มาของข้อมูล
https://www.teriin.org
https://www.frontiersin.org

image

ติดตาม GREENTIPS ทาง 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : BIO100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent

 

โพสต์เด่น

10 ไม้ยืนต้นออกดอกสวย

มาสู้โลกร้อนกันด้วยการ ปลูกต้นไม้ในบ้านกัน นอกจากลดการใช้พลังงานฟอสซิล หันมาใช้พลังงานสะอาด ก็คือช่วยการปลูกต้นไม้ 🌳 🌿 🌱 เพิ่มพื้นท...

โพสต์น่าสนใจ