ภาวะโรคร้อนดีขึ้นแต่ยังไม่พอ
แน่นอนพวกเราคงจะคิดว่าโลกหลังโควิทผ่านไป คงทำให้ภาวะโลกร้อนดีขึ้น อุณหภูมิโลกคงกลับลงมาเย็นลง ธรรมชาติคงเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ พื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำแม่น้ำภูเขา และเหล่าสิงสาราสัตว์ ต่างมีที่ทางฟื้นตัวกลับมา
หลังจากผ่านไปเกือบ 2 ปี โลกของเรา(ยัง)คงล๊อคดาวน์ต่อไป การใช้ชีวิตแบบบริโภคนิยม และการขับเคลื่อนเศรฐกิจด้วยการใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงมหาศาล ส่งผลให้การปล่อยก๊าซ CO2 ตัวการหลักของปัญหาก๊าซเรือนกระจก ลดลงไปถึง 2.6หมื่นตัน หรือ 7% ภายในช่วงปี2020 เพียงปีเดียว จากตัวเลขรายงานใน Chart และ บทวิเคราะห์ ของ Nature.com ก็ ดูจะเป็นเช่นนั้น
แต่เอาเข้าจริงๆ สถานการณ์อาจไม่เป็นอย่างนั้นทั้งหมด อ้างอิงจากตัวเลขที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ติดตามวิเคราะห์ข้อมูล แล้วพบว่าตัวเลขที่ลดลงนั้นดูเหมือนยังไม่เพียงพอที่จะพลิกฟื้นภาวะโรคร้อนที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 มีการประเมินกันจากนักวิจัยว่า เราต้องลดการปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณเดียวกันนี้ (2.6หมื่นตัน) ให้ได้ทุกๆ 2 ปี ต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย10ปี (หรือ หนึ่งทศวรรษต่อจากนี้) ถึงจะส่งผลอย่างมีนัยยะให้ภาวะโลกร้อนที่กำลังคุกคามโลกของเรา และทุกชีวิตบนโลกนี้ให้หมดไปได้แบบยั่งยืน
ยิ่งไปกว่านั้น การที่สถานการณ์โควิท-19 ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังส่งผลค่อนข้างรุนแรงในหลายพื้นที่ ก็ได้เริ่มคลี่คลายลงในอีกหลายๆประเทศ กำลังการผลิตวัคซีนโควิทเริ่มเข้าที่เข้าทาง และพลเมืองโลกเริ่มได้รับวัคซีนกันมากขึ้น การออกมาใช้ชีวิตแบบเดิม เหมือนช่วงก่อนโควิท ก็คงจะค่อยๆเริ่ม และก็กลับมาเต็มพิกัดกันในอีกไม่ช้าไม่นาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจะบรรเทาเบาบางในช่วงโควิท ก็คงจะกลับย่ำแย่เหมือนเดิม
ที่สุดแล้วก็อยู่ที่พวกเราครับ รักษ์โลกรักตัวเรา ก็ต้องช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มที่พวกเราครับ คนละไม้คนละมือ
ติดตาม GREENTIPS ทาง 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : BIO100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent
แน่นอนพวกเราคงจะคิดว่าโลกหลังโควิทผ่านไป คงทำให้ภาวะโลกร้อนดีขึ้น อุณหภูมิโลกคงกลับลงมาเย็นลง ธรรมชาติคงเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ พื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำแม่น้ำภูเขา และเหล่าสิงสาราสัตว์ ต่างมีที่ทางฟื้นตัวกลับมา
หลังจากผ่านไปเกือบ 2 ปี โลกของเรา(ยัง)คงล๊อคดาวน์ต่อไป การใช้ชีวิตแบบบริโภคนิยม และการขับเคลื่อนเศรฐกิจด้วยการใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงมหาศาล ส่งผลให้การปล่อยก๊าซ CO2 ตัวการหลักของปัญหาก๊าซเรือนกระจก ลดลงไปถึง 2.6หมื่นตัน หรือ 7% ภายในช่วงปี2020 เพียงปีเดียว จากตัวเลขรายงานใน Chart และ บทวิเคราะห์ ของ Nature.com ก็ ดูจะเป็นเช่นนั้น
แต่เอาเข้าจริงๆ สถานการณ์อาจไม่เป็นอย่างนั้นทั้งหมด อ้างอิงจากตัวเลขที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ติดตามวิเคราะห์ข้อมูล แล้วพบว่าตัวเลขที่ลดลงนั้นดูเหมือนยังไม่เพียงพอที่จะพลิกฟื้นภาวะโรคร้อนที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 มีการประเมินกันจากนักวิจัยว่า เราต้องลดการปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณเดียวกันนี้ (2.6หมื่นตัน) ให้ได้ทุกๆ 2 ปี ต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย10ปี (หรือ หนึ่งทศวรรษต่อจากนี้) ถึงจะส่งผลอย่างมีนัยยะให้ภาวะโลกร้อนที่กำลังคุกคามโลกของเรา และทุกชีวิตบนโลกนี้ให้หมดไปได้แบบยั่งยืน
ยิ่งไปกว่านั้น การที่สถานการณ์โควิท-19 ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังส่งผลค่อนข้างรุนแรงในหลายพื้นที่ ก็ได้เริ่มคลี่คลายลงในอีกหลายๆประเทศ กำลังการผลิตวัคซีนโควิทเริ่มเข้าที่เข้าทาง และพลเมืองโลกเริ่มได้รับวัคซีนกันมากขึ้น การออกมาใช้ชีวิตแบบเดิม เหมือนช่วงก่อนโควิท ก็คงจะค่อยๆเริ่ม และก็กลับมาเต็มพิกัดกันในอีกไม่ช้าไม่นาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจะบรรเทาเบาบางในช่วงโควิท ก็คงจะกลับย่ำแย่เหมือนเดิม
ที่สุดแล้วก็อยู่ที่พวกเราครับ รักษ์โลกรักตัวเรา ก็ต้องช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มที่พวกเราครับ คนละไม้คนละมือ
ติดตาม GREENTIPS ทาง 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : BIO100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent